ฟิล์มติดรถยนต์ VS ฟิล์มติดอาคาร
ในอดีตเมื่อกล่าวถึงฟิล์มกรองแสงเรามักจะนึกถึงฟิล์มที่ใช้ติดรถยนต์เพราะรถยนต์เป็นยานพาหนะที่ใช้งานกลางแจ้งจะต้องพบกับแสงแดดอันร้อนแรงในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในหน้าร้อนสำหรับประเทศในเขตร้อนปัญหานี้ยิ่งทวีคูณขึ้นอีกหลายเท่าตัว ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จึงถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถกรองแสงและกันความร้อนได้ดีขึ้นเป็นลำดับ จนในปัจจุบันความสามารถของฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ได้พัฒนาให้กันรังสี UV ได้มากถึง 99.99% และกันรังสีอินฟราเรดได้ตั้งแต่ 30%-97%
ปัจจุบันการออกแบบบ้านเรือน อาคาร และตึกสูงเน้นออกแบบให้มีกระจกมากขึ้นเพื่อความสวยงามจากภายนอก และเพิ่มมุมมองที่สวยงามจากภายใน ฟิล์มกรองแสงกันความร้อนชนิดเดียวกับที่ใช้ติดรถยนต์จึงเริ่มถูกนำมาใช้กับบ้านเรือน อาคาร และตึกสูงกันมากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เรื่องของการอนุรักษ์พลังงานได้ถูกให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นกฎหมายระดับชาติที่เรียกว่า “พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ.2535” และ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5” ที่บ่งบอกประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายต่อปี ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2549 ความสนใจเรื่องการประหยัดพลังงานภายในโรงงาน อาคาร ตึกสูง และ บ้านเรือน จึงเริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่นั้นมา
การประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศเริ่มถูกรณรงค์และได้รับการสนใจมากขึ้น ได้มีงานวิจัยจากทั้งในและต่างประเทศที่พิสูจน์มาแล้วว่าฟิล์มกรองแสงช่วยประหยัดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้มาก 8-10% เนื่องจากเครื่องปรับอากาศจะหยุดพักทำงานบ่อยมากขึ้นเพราะความร้อนจากรังสีอินฟราเรดและรังสียูวีจากแสงอาทิตย์ถูกป้องกันไม่ให้เข้าไป ฟิล์มกรองแสงกันความร้อนจึงเป็นปราการที่ดีที่สุดกว่าการใช้ม่านบังแสงแดดที่ปิดกั้นภายในห้อง หรือภายในตัวอาคาร
และถ้ายิ่งใช้ฟิล์ม Kontrast,ฟิล์มกรองแสงกันความร้อนคุณภาพสูงที่กันรังสี UV ได้มากถึง 99.99% และกันรังสีอินฟราเรดได้ตั้งแต่ 80-97%, มีชั้นอนุภาคเงินสะท้อนรังสีความร้อน และมีเนื้อฟิล์มที่มีความหนากว่าฟิล์มทั่วไปถึง 3 เท่าแล้ว
"รถยนต์หรืออาคารของคุณจะมี Kontrast ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อนช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดด และช่วยป้องกันการสูญเสียความเย็นในเวลาเดียวกัน"